วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปฏิทินมายา






มายาเป็นอารยธรรมโบราณอารยธรรมหนึ่งในอเมริกากลาง มีศูนย์กลางอยู่บริเวณตอนใต้ของเม็กซิโก กัวเตมาลา และทางเหนือของเบลีซ มีสิ่งปลูกสร้างทำด้วยหิน พีระมิด อักษรภาพ มีการบูชาเทพเจ้าและพิธีกรรม แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมซึ่งถึงจุดสูงสุดเมื่อราวปี 250-900 ก่อนจะเสื่อมถอยลงวันที่ 21 ธ.ค. 2012 ถูกยกขึ้นมาเป็นวันสิ้นโลก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะวันนั้นตรงกับวันสิ้นสุดปฏิทินรอบใหญ่ของชาวมายาที่ เรียกว่า Long Count ปฏิทินชนิดนี้เป็นหนึ่งในปฏิทินหลายแบบของชาวมายา (แบบอื่นที่เคยกล่าวถึงมาแล้วคือแบบที่เกี่ยวกับวัฏจักรการเคลื่อนที่ของดาว ศุกร์) พวกเขาใช้ตัวเลข 5 ตัว และเลขฐาน 20 เป็นหลักในระบบปฏิทินแบบ Long Count การเขียนจะใช้อักษรภาพแทนตัวเลข เรียงกันในแนวตั้ง โดยเริ่มนับที่ 0.0.0.0.0 ซึ่งพบว่าตรงกับวันที่ 11 ส.ค. 3,114 ปีก่อนคริสตกาล ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ 6 ก.ย. ปีเดียวกัน ตามปฏิทินจูเลียน วันที่ 19 นับเป็น 0.0.0.0.19 จากนั้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 20 จะนับเป็น 0.0.0.1.0เลขหลักที่ 2 จากขวามือ ต่างกับหลักอื่นตรงที่จะใช้ตัวเลขสูงสุดถึงแค่ 18 ดังนั้น 0.0.1.0.0 จึงตรงกับวันที่ 360 (ประมาณ 1 ปี) 0.1.0.0.0 ตรงกับวันที่ 7,200 (ประมาณ 20 ปี) และ 1.0.0.0.0 ตรงกับวันที่ 144,000 (ประมาณ 394 ปี) การที่ชาวมายาใช้เลข 13 และ 20 เป็นรากฐานของระบบตัวเลข โดยปีหนึ่งมี 13 เดือน แต่ละเดือนยาวนาน 20 วัน จึงมีความเชื่อว่าปฏิทินแบบ Long Count นี้จะสิ้นสุดในวันที่ 13.0.0.0.0 ก่อนจะเริ่มรอบใหม่ วัฏจักร Long Count จึงยาวนาน 1,872,000 วัน (ผลลัพธ์ของ 13 x 20 x 20 x 18 x 20) หรือราว 5,125 ปี ซึ่งถ้านับมาจากจุดเริ่มต้นเมื่อ 3,114 ปีก่อนคริสตกาล วันที่ 13.0.0.0.0 ในปฏิทินมายาจะตรงกับวันที่ 21 ธ.ค. 2012


นอกจากการสิ้นสุดของปฏิทินมายาจะถูกนำมาเชื่อมโยงกับวันสิ้นโลก หรือบ้างก็ว่าเป็นการเข้าสู่ยุคใหม่แล้ว วันที่ 21 ธ.ค. ยังตรงกับวันเหมายัน (Winter Solstice) นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาวสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในซีกโลกเหนือ และเป็นช่วงที่เวลากลางคืนยาวนานกว่าเวลากลางวันมากที่สุด เมื่อมองจากโลกจะเห็นดวงอาทิตย์โคจรมายังจุดที่เยื้องลงไปทางทิศใต้มากที่สุดระบบสุริยะของเราอยู่ในดาราจักรที่เรียกว่าดาราจักรทางช้างเผือก มีลักษณะเป็นจานแบน ป่องออกตรงกลาง ระนาบของจานคือเส้นศูนย์สูตรของทางช้างเผือก สุริยวิถีซึ่งเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ลากผ่านกลุ่มดาวจักรราศี อยู่คนละระนาบกับเส้นศูนย์สูตรของทางช้างเผือก แต่มีจุดตัดกัน 2 จุด จุดหนึ่งอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ปัจจุบันอยู่ใกล้กับตำแหน่งของจุดเหมายัน อีกจุดหนึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างกลุ่มดาววัวกับกลุ่มดาวคนคู่การคำนวณทางดาราศาสตร์พบว่า ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันเหมายันจะผ่านระนาบทางช้างเผือกในช่วงปี 1980-2016 โดยผ่านศูนย์กลางพอดีในปี 1998 เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นทุกๆ ประมาณ 26,000 ปี ตามคาบการส่ายของแกนหมุนของโลก www.navy.mi.th/.../wfrock/Images/earth_cores.gif

จอห์น เมเจอร์ เจนกินส์ นักเขียนคนหนึ่ง เรียกการเรียงตัวกันนี้ว่า Galactic Alignment เขาอ้างว่าชาวมายาล่วงรู้ถึงการเรียงตัวกันดังกล่าว โดยสังเกตจากแนวมืดในแถบทางช้างเผือก ซึ่งเกิดจากฝุ่นที่บดบังแสงจากดาวเบื้องหลัง และยังอ้างอีกว่าชาวมายากำหนดจุดสิ้นสุดของปฏิทินแบบ Long Count ให้ตรงกับเหตุการณ์นี้ ซึ่งก็ยิ่งเพิ่มความโดดเด่นของวันที่ 21 ธ.ค. 2012 ให้มากขึ้นไปอีก



โดย วรเชษฐ์ บุญปลอด






:http://www.kruprakruang.com/

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พ.ศ2555 (ค.ศ2012)

พุทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
พ.ศ. 2555 ในปฏิทินอื่น
- รัตนโกสินทรศก 231
- ปีนักษัตร มะโรง
ปฏิทินเกรกอเรียน ค.ศ. 2012 (MMXII)
ปฏิทินเกาหลี 4345
ปฏิทินคอปติก 1728 – 1729
จุลศักราช 1374
ปฏิทินจูเลียน 2057
ปฏิทินญี่ปุ่น ปีเฮเซที่ 24 (平成24年)
- ปีจักรพรรดิ ปีโคกิที่ 2672 (皇紀2672年)
- ยุคโจมง12012
ปฏิทินบาไฮ 168 – 169
มหาศักราช 1934
อับ อูรเบ กอนดิตา2765
ปฏิทินอาร์เมเนีย1461 (ԹՎ ՌՆԿԱ)
ปฏิทินเอธิโอเปีย2004 – 2005
ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ1433 – 1434
ปฏิทินฮินดู
- วิกรมสมวัต 2067 – 2068
- ศกสมวัต 1934 – 1935
- กลียุค 5113 – 5114
ปฏิทินฮีบรู 5772 – 5773
สำหรับก่อนปี พ.ศ. 2484 นับให้วันที่ 1 เมษายนเป็นวันแรกของปี
เหตุการณ์
6 มิถุนายน - ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ มองเห็นได้ในประเทศไทย
27 กรกฎาคม -12 สิงหาคม การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
21 ธันวาคม - วันสุดท้ายของปฏิทินมายา (ตรงกับเหมายันของปีนี้)

Global warming






ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส [1] ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก[1] ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา[2][3] ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง [4] แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ [5][6]
แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) [1] ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่างๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี พ.ศ. 2643 แต่ความร้อนจะยังคงเพิ่มขึ้นและระดับน้ำทะเลก็จะสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายสหัสวรรษ แม้ว่าระดับของแก๊สเรือนกระจกจะเข้าสู่ภาวะเสถียรแล้วก็ตาม การที่อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลเข้าสู่สภาวะดุลยภาพได้ช้าเป็นเหตุมาจากความจุความร้อนของน้ำในมหาสมุทรซึ่งมีค่าสูงมาก [1]
การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และคาดว่าทำให้เกิดภาวะลมฟ้าอากาศสุดโต่ง (extreme weather) ที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณและรูปแบบการเกิดหยาดน้ำฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบอื่นๆ ของปรากฏการณ์โลกร้อนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผลิตผลทางเกษตร การเคลื่อนถอยของธารน้ำแข็ง การสูญพันธุ์พืช-สัตว์ต่างๆ รวมทั้งการกลายพันธุ์และแพร่ขยายโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง ได้แก่ปริมาณของความร้อนที่คาดว่าจะเพิ่มในอนาคต ผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบอื่นๆ ที่จะเกิดกับแต่ละภูมิภาคบนโลกว่าจะแตกต่างกันอย่างไร รัฐบาลของประเทศต่างๆ แทบทุกประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันทางการเมืองและการโต้วาทีสาธารณะไปทั่วทั้งโลกเกี่ยวกับมาตรการว่าควรเป็นอย่างไร จึงจะลดหรือย้อนกลับความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกในอนาคต หรือจะปรับตัวกันอย่างไรต่อผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อนที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้น





วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปรากฏการณ์เกาะความร้อน

ปรากฏการณ์เกาะความร้อน หรือ เกาะความร้อนเมือง (urban heat island: UHI) คือปรากฏการณ์ที่พื้นที่บริเวณกลางเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณโดยรอบอย่างมีนัย ความแตกต่างของอุณหภูมิที่สูงกว่าดังกล่าวมีความชัดเจนในตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน และในฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อนและจะชัดเจนมากเมื่อไม่มีลม หรือมีลมพัดอ่อน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเกาะความร้อนเมืองได้แก่การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินจากการพัฒนาเมือง ความร้อนที่ปล่อยออกจากการใช้พลังงานตามอาคารสถานที่ต่างๆ มีส่วนน้อยในการเกิดเกาะความร้อน เมื่อศูนย์กลางประชากรของเมืองเพิ่ม การเปลี่ยนแปลงผิวพื้นแผ่นดินก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเพิ่มอุณหภูมิทั่วไปโดยเฉลี่ย ผลของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองทำให้ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในบริเวณใต้ลมที่ห่างจากใจกลางเมืองออกไปประมาณ 60 กิโลเมตรเพิ่มขึ้นจากปกติประมาณร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับบริเวณพื้นที่เหนือลม



สาเหตุของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองมีหลายประการ Oke (1982) อ้างว่าสาเหตุหลักสำหรับการร้อนขึ้นในช่วงกลางคืนเกิดจากอาคารต่างๆ (ที่ร้อนกว่า) บังวิวท้องฟ้า (ที่เย็นกว่า) ของตอนกลางคืน (ดูการแผ่รังสีความร้อน - thermal radiation) เหตุผลอีก 2 ประการได้แก่การเปลี่ยนคุณสมบัติของความร้อนบนผิววัสดุและการขาดการระเหยคายน้ำ (evapotranspiration) ในบริเวณเมือง วัสดุที่ใช้โดยทั่วไปในเมือง เช่น คอนกรีตและแอสฟัลต์มีคุณสมบัติในการรับความร้อนที่ต่างกันมาก รวมทั้งคุณสมบัติในการจุความร้อนและคุณสมบัติในการนำความร้อน และคุณสมบัติของอัตราส่วนรังสีสะท้อน (albedo) และสภาพการเปล่งรังสี (emissivity) มากกว่าบริเวณโดยรอบเมือง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนความสมดุลของพลังงาน (energy balance) ในเขตเมืองซึ่งเป็นเหตุให้อุณหภูมิในเมืองสูงกว่าพื้นที่ชานเมืองหรือพื้นที่ชนบท ความสมดุลของพลังงานยังถูกกระทบจากการขาดพืชพรรณในพื้นที่ในเมืองที่จะช่วยให้เย็นลงจากการระเหยคายน้ำของต้นไม้ อีกสาเหตุหนึ่งของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองได้แก่ “ปรากฏการณ์เรขาคณิต” geometric effects) นั่นคืออาคารสูงจำนวนมากในย่านกลางเมืองเป็น ผิวเชิงอเนก ที่รับการสะท้อนและการดูดซับแสงอาทิตย์ ทำให้บริเวณในเมืองร้อนขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า “ปรากฏการณ์หุบผา” (canyon effect) อีกสาเหตุหนึ่งที่เกิดจากอาคารสูงได้แก้การบังลมซึ่งทำให้ไม่เกิดความเย็นจากการพาความร้อน (convection) ความร้อนที่ปล่อยออกจากเครื่องปรับอากาศของอาคาร โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งก่อความร้อนอื่นๆ ในเมืองมีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองได้เช่นกัน รวมทั้งบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นในเมืองก็มีส่วนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้มลภาวะในรูปต่างๆ ก็มีส่วนเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของบรรยากาศด้วย





สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า:
“เกาะความร้อนเกิดขึ้นเมื่อพืชพรรณถูกแทนที่ด้วยแอสฟัลท์และคอนกรีตที่ใช้ทำถนน อาคารและโครงสร้างอื่นที่มีความจำเป็นสำหรับการเพิ่มที่อยู่อาศัยและที่ทำงานของประชากร ผิวพื้นเหล่านี้ดูดซับ – มากกว่าสะท้อนความร้อนจากแสงแดด ทำให้อุณหภูมิผิวพื้นและอุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น” การใช้วลี “เกาะความร้อน” อีกแนวหนึ่งได้แก่การใช้หมายถึงบริเวณใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะมีการอยู่อาศัยหรืออาคารบ้านเรือนหรือไม่ก็ตาม แต่มีการเกิดความร้อนสูงกว่าบริเวณโดยรอบ ในบางเมืองอาจเกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองสูงสุดในตอนกลางคืน (ดูภาพล่าง) โดยเฉพาะบาง [2] หรือในบางครั้งในฤดูหนาว [3] โดยมีความแตกต่างของอุณหภูมิหลายองศาระหว่างศูนย์กลางเมืองและบริเวณทุ่งชานเมือง ความแตกต่างของอุณหภูมิของสองบริเวณดังกล่าวนี้มักปรากฏในรายงานพยากรณ์อากาศของต่างประเทศ เช่น “อุณหภูมิกลางเมือง 68 องศา และชานเมือง 64 องศา” เป็นต้น




ปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองมีศักยภาพที่จะส่งอิทธิพลต่อสุขภาพและความผาสุขของประชากรในเมือง ในสหรัฐฯ ประเทศเดียว โดยเฉลี่ยมีผู้เสียชีวิตถึง 1,000 คนจากความร้อนจัด (Changnon et al., 1996), ในขณะที่ปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองที่ปรากฏในรูปของการเพิ่มอุณหภูมิมีศักยภาพที่จะเพิ่มขนาดความเนิ่นนานของคลื่นความร้อน ( heat wave) ที่เกิดในเมืองได้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอัตราการเสียชีวิตสูงสุดในช่วงการเกิดคลื่นความร้อนจะเป็นสัดส่วนรับกันกับช่วงที่มีอุณหภูมิสูงสุด (Buechley et al., 1972) ซึ่งนับเป็นผลกระทบในทางเลวที่เกิดจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง ผลกระทบในช่วงกลางคืนนับว่ามีอันตรายมากในช่วงเกิดคลื่นความร้อนเช่นกันเนื่องจากเป็นการทำให้ประชากรในเมืองไม่ให้ได้รับการผ่อนคลายเหมือนประชากรชานเมืองจากอุณหภูมิตอนกลางคืนลดต่ำลง (Clarke, 1972)
งานวิจัยในสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิที่สุดโต่งและการตายในสหรัฐฯ ผันแปรไปตามท้องถิ่น ในรายงานชื่อ “โครงการว่าด้วยสุขภาพที่ได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของโลก” ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ (JHU) พบว่า ความร้อนมักเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากในเมืองที่อยู่ในเส้นละติจูดปานกลางและละติจูดสูงที่มีความผันผวนของอุณหภูมิมาก ตัวอย่างเช่น เมื่อนครชิคาโกและนิวยอร์กที่ได้ประสบกับภาวะอุณหภูมิในฤดูร้อนสูงผิดปรกติ ความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตสามารถคาดได้ว่าจะสูงตามไปด้วย ตรงข้ามกับประเทศที่มีไม่มีการผันผวนของอุณหภูมิตลอดปีมาก จะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากคลื่นความร้อนของสาธารณชนน้อยกว่า งานวิจัยของ JHU แสดงให้เห็นว่าประชากรของเมืองในตอนใต้ของประเทศ เช่นไมอามีซึ่งคุ้นกับสภาพวะอากาศร้อนประสบปัญหาน้อยกว่า
ผลต่อเนื่องอีกประการหนึ่งของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองได้แก่การเพิ่มความสิ้นเปลืองพลังงานสำหรับเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นในเมืองที่มีอากาศร้อน กลุ่มผู้ศึกษาปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองได้ทำการประมาณความสิ้นเปลืองดังกล่าวในนครลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนียว่าตกถึงประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี [4] ในขณะที่เมืองในเขตหนาว เช่น ชิคาโกกลับมีค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานเชื้อเพลิงสำหรับความอบอุ่นลดลงในฤดูหนาว
นอกจากผลกระทบที่ชัดเจนเกี่ยวกับอุณหภูมิแล้ว ปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองยังมีผลกระทบระดับที่สองต่อการอุตุนิยมท้องถิ่นด้วย ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบของลมประจำถิ่น การเกิดเมฆ หมอก ความชื้นและอัตราของหยาดน้ำฟ้า (Precipitation - ฝน หิมะ น้ำค้าง ฯลฯ) อีกด้วย [5]
ด้วยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม นักวิจัยได้พบว่าลมฟ้าอากาศของเมืองมีอิทธิพลที่สังเกตได้ต่อการเจริญเติบโตของพืชพรรณท้องถิ่นตามฤดูการปลูก โดยส่งผลไปไกลมากถึง 10 กิโลเมตรจากขอบของเมือง ฤดูเพาะปลูกในเมืองต่างๆ 70 เมืองในภาคตะออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ มีความยาวนานมากขึ้นประมาณ 15 วันเมื่อเทียบกับพื้นที่ชนบทขอบเมืผลกระทบของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองอาจบรรเทาได้เล็กน้อยด้วยการใช้วัสดุที่มีผิวพื้นสีขาว หรือที่เป็นวัสดุสะท้อนความร้อนมาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ลานและถนนซึ่งเป็นการเพิ่มอัตรส่วนรังสีสะท้อน (albedo) โดยรวมของเมือง มีหลายประเทศที่นำวิธีนี้มาใช้นานแล้ว ทางเลือกที่สองได้แก่การเพิ่มจำนวนของพืชพรรณที่คายน้ำมาก วิธีทั้งสองนี้อาจนำมาประยุกต์รวมในรูปของ “หลังคาเขียว
เทศบาลนครนิวยอร์กได้ชี้ชัดว่าศักยภาพในการทำความเย็นตามพื้นที่ต่างๆ ที่สูงสุดได้แก่การปลูกต้นไม้ถนน ตามาด้วยหลังคาเขียว หรือสวนหลังคา หลังคาที่เป็นสีอ่อน และการปลูกพืชพรรณในที่ว่าง ในแง่ของค่าใช้จ่ายต่อประโยชน์ที่ได้ พบว่าการใช้พื้นผิวสีอ่อน หลังคาสีอ่อนและการปลูกต้นไม้ถนนมีค่าใช้จ่ายต่ออุณหภูมิที่ลดต่ำสุด [1]องที่อยู่นอกอิทธิพลของปรากฏการณ์เกาะความร้อนของเมือง [6][7]
:http://th.wikipedia.org